วันอาทิตย์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2557

รายงานการทบทวนระบบบริหารความเสี่ยง กรกฎาคม 2557

รายงานการทบทวนระบบบริหารความเสี่ยงของหน่วยงาน ศูนย์คอมพิวเตอร์
ประจำเดือน  กรกฎาคม ปี พ.ศ. 2557
.................
  1. จำนวนอุบัติการณ์และความรุนแรง (บัญชีความเสี่ยงF-RM-005) มีอุบัติการณ์ที่ลืมรายงานหรือไม่
    • เดือน กรกฎาคม
      มีพบรายงานอุบัติการณ์ความเสี่ยงที่ลืมรายงานและจากการทบทวนในการประชุมประจำเดือนนี้มีรายงานอุบัติการณ์ความเสี่ยงทั้งหมด  7 รายการ  โดยมี ระดับ  A  1 รายการ B  5  รายการ  C  1 รายการ

  2. สรุปผลการทบทวนอุบัติการณ์ที่เกิดซ้ำ บ่อย หรือ รุนแรงระดับEขึ้นไป ระบุสาเหตุรากและแผนปฏิบัติการแก้ไขป้องกัน ระบุผู้รับผิดชอบและระยะเวลาดำเนินการ
    • เครื่องห้องตรวจ 12 ไม่สามารถเปิดดู OPD scan visit รวมได้ (เคยรายงานเมื่อเดือนที่แล้วแล้ว)
    • เครื่องพิมพ์ใบเสร็จไม่พร้อมใช้งาน ที่การเงิน หน้าห้องยา
    • เครื่องปริ้นใบเสร็จไม่พร้อมใช้งาน ที่จุดชำระเงิน ER 
    • ผู้ป่วยแพ้ Ceftriaxone แต่สามารถคีย์ ceftriaxone ได้ ไม่มีเตือนแพ้ยาเลย
    • ตรวจสอบแล้วเป็นการคีย์ชื่อยาจากฐานข้อมูลถูกต้องแล้ว
    • อุปกรณ์เครื่องพิมพ์ใบเสร็จไม่พร้อมใช้งาน  ที่จุดชำระเงิน OPD
    • visit 16/5/57 ตรวจรับยาเบาหวานที่ สอ.วังบอน ข้อมูล ยาฉีด Mixed insulin ในOPD card  และ EMR ไม่ตรงกัน  
    • ใน OPD card สั่ง order Mixed insulin 18 u sc เช้า 
    • แต่ใน EMR เป็น Mixed insulin 42-0-34 sc  
    • หากไม่ค้น OPD card  ดูแต่ข้อมูลจาก EMR อาจสั่งการรักษาผิด
    • ระบบ Hosxp ไม่แสดงรายการตรวจ ลงรับแลบไม่ได้ และรายงานผลไม่ได้ ตั้งแต่เวลาประมาณ 19.00 น. ถึง 22.30น. จึงแก้ปัญหาโดยการเขียนรายงานผล และรายงานทางโทรศัพท์ ทำให้เกิดความล่าช้าและไม่สะดวกในการปฏิบัติงาน
  3. ถ้าอุบัติการณ์ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในข้อ1เป็นเรื่องที่มีมาตรการความเสี่ยงเดิมแล้วให้ทบทวนว่าต้องปรับปรุงมาตรการหรือไม่
    • ระบบ opd scan ติดปัญหาการบันทึก เนื่องจากงานเวชระเบียนยังทำไม่สมบูรณ์ ทำให้เกิดปัญหาการดู opd scan ได้บ้างไม่ได้บ้าง  ได้แจ้งงานเวชระเบียนดำเนินการเร่งด่วน
    • ไฟล์ภาพเสีย scan ไม่สมบูรณ์  

  4. ผลติดตามผลลัพธ์/แผนปฏิบัติการแก้ไขป้องกันในข้อ2ของรอบ3เดือนที่แล้ว
    • ได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่เวชระเบียนตรวจสอบความสมบูรณ์ของการ scan opdcard ว่าได้บันทึกเรียบร้อนดีหรือยัง 

  5. การค้นหาความเสี่ยงเชิงรุก เป็นการพยายามค้นหาจุดเสี่ยงหรือความล่อแหลมในระบบและกระบวนการเพื่อวางมาตรการป้องกันไว้ในระบบในระดับที่สูงที่สุดที่จะเป็นไปได้
    • มีความเสี่ยงใหม่ที่อาจเกิดขึ้นจากการ ปรับเปลี่ยนระบบงาน เจ้าหน้าที่ เครื่องมือ สิ่งแวดล้อมหรือไม่
      • ปรับกระบวนการบันทึก แสกน ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น 
    • มีการค้นพบความเสี่ยงจากการทำกิจกรรมทบทวนทางคลินิกหรือไม่ ระบุว่าทบทวนไปกี่รายพบกี่เหตุการณ์
      • ไม่มี
    • มีเสียงสะท้อนจากผู้รับบริการ หน่วยงานอื่น ผู้บริหารหรือไม่ ถ้ามีให้บันทึกใน F-RM-002 ประเมินความสำคัญโดยใช้ Risk Matrix = ความถี่x ความรุนแรง ถ้าปานกลาง-สูงวิเคราะห์ด้วยแผนภูมิช่วยตัดสินใจ decision tree ว่าจะดำเนินการต่อหรือรอดูไปก่อนถ้าต้องป้องกันต่อควรคิดมาตรการความเสี่ยงตามแบบฟอร์ม (F-RM 003)
      • ไม่มี