วันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2556

รายงานการทบทวนระบบบริหารความเสี่ยงของหน่วยงาน ศูนย์คอมพิวเตอร์

รายงานการทบทวนระบบบริหารความเสี่ยงของหน่วยงาน ศูนย์คอมพิวเตอร์
ประจำเดือน  พฤษภาคม  ปี พ.ศ. 2556
.................
  1. จำนวนอุบัติการณ์และความรุนแรง (บัญชีความเสี่ยงF-RM-005) มีอุบัติการณ์ที่ลืมรายงานหรือไม่
    • เดือน พฤษภาคม
      มีรายงานอุบัติการณ์ความเสี่ยงที่ลืมรายงานและจากการทบทวนในการประชุมประจำเดือนนี้มีรายงานอุบัติการณ์ความเสี่ยงทั้งหมด  1 รายการ ระดับ  C 
    • หมึกของเครื่อง printer EPSON  LQ  300 ไม่มีคุณภาพใช้ได้1 รอบต่อจากนั้นชำรุดสายหมึกผ้าบิดทุกครั้งเดือน พค.ของห้องคลอดเปลี่ยนไป5ครั้งไม่สะดวกต่อการใช้งาน 
  2. สรุปผลการทบทวนอุบัติการณ์ที่เกิดซ้ำ บ่อย หรือ รุนแรงระดับEขึ้นไป ระบุสาเหตุรากและแผนปฏิบัติการแก้ไขป้องกัน ระบุผู้รับผิดชอบและระยะเวลาดำเนินการ
    • ไม่พบรายงานอุบัติการณ์ที่มีความรุนแรงระดับ E ส่วนรายงานอุบัติการณ์ซ้ำไม่มี
  3. ถ้าอุบัติการณ์ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในข้อ1เป็นเรื่องที่มีมาตรการความเสี่ยงเดิมแล้วให้ทบทวนว่าต้องปรับปรุงมาตรการหรือไม่
    • โปรแกรม Hosxp ขัดข้อง ไม่สามารถเชื่อมข้อมูลกับฐานข้อมูลได้ ทำให้การบันทึกข้อมูลและออกใบสั่งยาให้ผู้ป่วยไปรับยาและชำระค่าใช้จ่ายล่าช้า (ช่วงเวรนอกเวลา 17.00 น. จะพบปัญหาทุกครั้ง)
    • หมึกของเครื่อง printer EPSON  LQ  300 ไม่มีคุณภาพใช้ได้1 รอบต่อจากนั้นชำรุดสายหมึกผ้าบิดทุกครั้งเดือน พค.ของห้องคลอดเปลี่ยนไป5ครั้งไม่สะดวกต่อการใช้งาน 
  4. ผลติดตามผลลัพธ์/แผนปฏิบัติการแก้ไขป้องกันในข้อ2ของรอบ3เดือนที่แล้ว
    • รับทราบแล้ว เกิดจากสั่งซื้อมาแล้ว ผ้ามันบิด มาตั้งแต่เปิดใช้แล้วครับต่อไปจะเปลี่ยน lot ใหม่  ให้ดีกว่าเดิมครับ
  5. การค้นหาความเสี่ยงเชิงรุก เป็นการพยายามค้นหาจุดเสี่ยงหรือความล่อแหลมในระบบและกระบวนการเพื่อวางมาตรการป้องกันไว้ในระบบในระดับที่สูงที่สุดที่จะเป็นไปได้
    • มีความเสี่ยงใหม่ที่อาจเกิดขึ้นจากการ ปรับเปลี่ยนระบบงาน เจ้าหน้าที่ เครื่องมือ สิ่งแวดล้อมหรือไม่
      • ไม่มี
    • มีการค้นพบความเสี่ยงจากการทำกิจกรรมทบทวนทางคลินิกหรือไม่ ระบุว่าทบทวนไปกี่รายพบกี่เหตุการณ์
      • ไม่มี
    • มีเสียงสะท้อนจากผู้รับบริการ หน่วยงานอื่น ผู้บริหารหรือไม่ ถ้ามีให้บันทึกใน F-RM-002 ประเมินความสำคัญโดยใช้ Risk Matrix = ความถี่x ความรุนแรง ถ้าปานกลาง-สูงวิเคราะห์ด้วยแผนภูมิช่วยตัดสินใจ decision tree ว่าจะดำเนินการต่อหรือรอดูไปก่อนถ้าต้องป้องกันต่อควรคิดมาตรการความเสี่ยงตามแบบฟอร์ม (F-RM 003)
      • ไม่มี